วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เหรียญลวงตา



อุปกรณ์

  • เหรียญบาท 1 เหรียญ
  • จานทึบแสง 1 ใบ
  • โต๊ะ
  • เทปกาว

การทดลอง
  1. วางเหรียญบาทลงในจาน แล้วนำจานไปวางบนโต๊ะ
  2. จ้องมองเหรียญบาทไว้พร้อมกับเดินถอยหลังช้าๆจอขอบจานบังเหรียญจนมองไม่เห็น หยุดตรงตำแหน่งนั้นล้วทำเครื่องหมายไว้บนพื้น
  3. ใส่น้ำลงไปให้เต็มจาน
  4. กลับไปยืนตำแหน่งที่เดิมแล้วมองเหรียญ

เหตุผล

ตำแหน่งที่เราทำเครื่องหมายไว้คือคำแหน่งที่ไม่เห็นเหรียญ  ที่เติมน้ำลงไปก็เพราะว่า การหักเหของแสงนั่นเอง 

เทียนดูดน้ำ




อุปกรณ์
  • เทียนไข
  • แก้วน้ำ
  • จาน
  • ถ้วยใส่น้ำ
  • ไม่ขีดไฟหรือไฟแช๊ก

การทดลอง

  1. หยดสีผสมอาหารลงในน้ำที่เตรียมไว้
  2. เทน้ำผสมสีลงในจานที่เตรียมไว้
  3. นำเทียนไปวางบริเวณกึ่งกลางของจานแล้วจุดไฟ
  4. นำแก้วครอบเทียนไว้ รอสักครู่ ไฟจะดับ สังเกตุว่าน้ำที่อยู่รอบๆแก้วจะค่อยๆไหลเข้ามาอยู่ในแก้ว  

ผล

สาเหตุที่น้ำด้านนอกสามารถเข้าไปอยู่ภายในแก้วได้ก็เพราะเมื่อ ออกซิเจนที่มีภายในถูกใช้ในการเผาไหม้จนหมด น่ำและออกซิเจนที่อยู่ด้านนอกจะถูกดันเข้าไป แทนที่อากาศในแก้ว
     

เปลือกไข่แข็งแรง



อุปกรณ์
  • ไข่ดิบ 4 ฟอง
  • กรรไกร
  •  เทปกาว
  • หนังสือเล่มหนาหลาย ๆ เล่ม
การทดลอง
  1. นำเทปกาวมาพันรอบเปลืกไข่  
  2. ใช้กรรไกรตัดขอบเปลืกที่มีรอยขรุขระให้เรียบ โดยตัดบนเทปกาวที่พันไว้รอบเปลืกไข่ ตัดเปลืกไข่จนได้ครึ่งเปลืก 4 อัน
  3. วางเปลืกไข่ทั้ง 4 ให้เป็น 4 มุม โดยคว่ำลงพื้นเรียบ
  4. นำหนังสือมาวางบนปลืกไข่จะนวน 1 เล่ม และวางลงเรื่อยๆ จะได้กี่เล่ม??
อาจจะมีหลายๆคนที่นำหนังสือวางจนหมดแล้วเปลืกไข่ก็ยังไม่แตกอยู่ดี เนื่องจากโคลงสร้างของเปลืกไข่เป็นโครงสร้างที่พิเศษมาก เรียกว่า โดมเชปรูฟ  หรือเป็นโครงสร้างที่มีักษณะเป็นหลังคาโค้ง  โดยส่วนโค้งของเปลืก จะช่วยในการกระจายน้ำหนักของหนังสือให้ลงสู่พื้น ไม่มีจุดใดจุดหนึ่งของเปลืกไข่รับน้ำหนักของสิ่งที่กดทับเลย และเชื่อหรือไม่ว่าไข่ 1 ฟอง สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 90 กิโลกรัมเลยทีเดียว

การเกิดฝน



อุปกรณ์
  •  กาต้มน้ำ
  • ฝาหม้อ
  • ตู้เย็น

การทดลอง

     หากาต้มน้ำมา 1 ใบ ทำการต้มน้ำให้เดือด แล้วหาฝาหม้อ ที่ถูกนำไป แช่ในตู้เย็น นำมาอังไว้ บริเวณปากของกาต้มน้ำ ให้ไอน้ำสัมผัสกับฝาหม้อ
เหตุผล
  จะบพว่า เกิดหยดน้ำขึ้นที่ฝาหม้อ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะไอน้ำ เมื่อได้รับความเย็น ก็จะกลันตัวเป็นหยดน้ำ ซึ่่งเป็นหลักการเดียวกันกับ การเกิดฝน ซึ่งก้อนเมฆ ก็คือไอน้ำนั่นเอง เมื่อกระทบความเย็น ก็จะกลั่นตัว ตกลง มาเป็นฝน




เปลวไฟลอยน้ำ



อุปกรณ์
  • เทียนไข
  • แก้วทรงสูง
  • หมุดหัวหมวก หรือตะปูเกลียวตัวเล็ก


การทดลอง
  1. เติมน้ำลงในแก้ว 5/6 แก้ว
  2. นำหมุดมาปักตรงที่ฐานเทียนไขด้านป้าน
  3. นำแท่งเทียนใส่ลงไปในแก้วน้ำแล้วจุดเทียน


เหตุผล

        เทียนไขลอยอยู่ที่ผิวน้ำได้ และไฟก็จะไม่ดับ เพราะเทียนทำจากขี้ผึ้งพาราฟินจึงไม่เปียกน้ำ และหมุดหัวหมวก ทำหน้าที่เป็นจุดรวมน้ำหนักให้อยู่ที่แกนกลางแท่งเทียนจึงไม่เอียงคว่ำ
ขี้ผึ้งพาราฟินเป็นไขมันที่ได้จากการกลั่นจากปิโตรเลียมมีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ คล้ายกับขี้ผึ้ง จุดหลอมเหลวที่ 47-64 องศาเซลเซียส ซึ่งขี้ผึ้งพาราฟินบริสุทธิ์จะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ไม่ละลายน้ำ พาราฟินมักนำมาทำเทียนไข หรือเคลือบวัสดุต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โดนความชื้นจากน้ำ

เป่าลูกโป่งด้วยผงฟู



อุปกรณ์ 
  •    ลูกโป่งกลม 1 ใบ
  •     กรวย 1 อัน 
  •     ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ
  •     น้ำส้มสายชู
  •     ขวดพลาสติกใสขนาด 1 ลิตร
  •     ช้อนโต๊ะ

การทดลอง
1.  นำลูกโป่งครอบเข้ากับกรวย ดังภาพที่ แล้วบรรจุผงฟูจำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ลงในลูกโป่ง
2. 
บรรจุน้ำส้มสายชูลงในขวดพลาสติกใส ประมาณ 1 ใน 4 ของขวด   โดยใช้กรวย เพื่อไม่ให้น้ำส้มสายชูหก
3. 
นำลูกโป่งที่บรรจุผงฟูครอบลงไปบนปากขวดพลาสติก ดึงให้แน่น ( ระวังอย่าเพิ่งให้ผงฟูร่วงลงในขวด)
4. 
เมื่อแน่ใจว่า ลูกโป่งยึดติดกับปากขวดแน่นแล้ว ให้ยกลูกโป่งขึ้น เพื่อให้ผงฟูหล่นลงในน้ำส้มสายชู สังเกตผลการทดลอง

เมื่อเรายกลูกโป่งขึ้นเพื่อให้ผงฟูที่อยู่ด้านในร่วงลงไปรวมกับน้ำส้มสายชู   จะสังเกตเห็นว่ามีฟองอากาศปุดๆ เกิดขึ้นมากมายภายในขวดพลาสติก  แล้วเจ้าลูกโป่งที่นอนคอพับอยู่ก็ค่อย ๆ พองขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ  หากเราใช้น้ำส้มสายชูและผงฟูมากเกินไป  ลูกโป่งก็อาจจะแตกได้ หลายคนคงสงสัยว่าอะไรที่เป็นสาเหตุให้ลูกโป่งขยายใหญ่ขึ้น และสิ่งนั้นก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซชนิดเดียวกับที่เราหายใจออกมานั่นเอง 
เมื่อน้ำส้มสายชูรวมกับผงฟู หรือหลาย ๆ คนอาจจะเรียกว่า เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) จะเกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมี  และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น   จนได้สารชนิดใหม่  ที่เรียกว่า ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์  สำหรับผงฟูนั้นหลายคนคงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนที่ทำขนม  ซึ่งประโยชน์ของผงฟูนั้นนอกจากจะช่วยทำให้อาหารขึ้นฟู โดยเฉพาะขนมเค้ก หรือคุกกี้ แล้ว ยังสามารถนำผงฟูไปผสมกับน้ำ  สำหรับแช่ผักผลไม้    ซึ่งจะสามารถลดสารพิษตกค้างได้ถึง 90-95  เปอเซ็นต์ 

เหรียญเต้นระบำ




อุปกรณ์
  •   ชามปากกว้าง ใบ 
  •   ขวดแก้วปากแคบ 1 ใบ 
  •   เหรียญที่มีขนาดพอดีกับปากขวด  1 เหรียญ   (ไม่ควรใช้เหรียญที่มีขนาดใหญ่หรือหนักมากเกินไป)
  •   น้ำร้อน
วิธีการทดลอง
1.  นำขวดแก้วแช่ในตู้เย็นประมาณ 30 นาที  หรือมากกว่านั้นก็ได้
2.  เทน้ำร้อนใส่ชาม ประมาณครึ่งชาม (ให้เตรียมน้ำร้อนขณะที่จะเริ่มทำการทดลอง มิฉะนั้นน้ำอาจเย็นซะก่อนนะครับ)
3.  นำขวดแก้วออกจากตู้เย็น และวางเหรียญบนปากขวด  โดยให้เหรียญปิดปากขวดพอดี   จากนั้นนำขวดไปตั้งในชามที่
     บรรจุน้ำร้อน เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 3-4 นาที  สังเกตการเคลื่อนที่ของเหรียญ
จากผลการทดลอง   เราจะสังเกตเห็นว่า  เหรียญจะเปิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ และตกกลับที่เดิมอย่างน่าอัศจรรย์  อันเนื่องมาจากแรงดันอากาศนั่นเอง

           เมื่อเรานำขวดไปแช่ในตู้เย็น ความเย็นจะทำให้อากาศภายในขวดจะหดตัว แต่เมื่อนำขวดออกมาจากตู้เย็น และนำไปตั้งในชามที่บรรจุน้ำร้อน ความร้อนของน้ำจะทำให้อากาศภายในขวดอุ่นขึ้น  และขยายตัว ดันให้เหรียญที่ปิดปากขวดอยู่เปิดออก  เมื่ออากาศที่ขยายตัวภายในขวดเคลื่อนที่ออกไปแล้ว แรงดันอากาศในขวดจะลดลง เหรียญจะตกกลับมาที่เดิม  เหรียญจะเปิดปิดอยู่หลายครั้งจนกว่าแรงดันอากาศภายในขวดและนอกขวดเท่ากัน  เหรียญจึงหยุดขยับ  ให้น้อง ๆ ลองสังเกตนะครับว่าเหรียญขยับกี่ครั้ง จึงหยุดขยับ สำหรับการทดลองนี้ขอให้ระมัดระวังการใช้น้ำร้อนด้วยนะครับ เพราะอาจเกิดอันตรายขึ้นได้

การสืบสวนด้วยน้ำหมึก




อุปกรณ์
  • กระดาษชำระ
  •   กรรไกร
  •   ขวดโหลใส่น้ำ
  •   ปากกาหมึกซึม และปากกา markers
  •   คลิปหนีกกระดาษ
  •   น้ำ


วิธีทำ

1.  ตัดกระดาษชำระเป็นเส้นความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ความยาวขึ้นอยู่กับ ความสูงของขวดโหล
2.  วาดวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ที่ปลายด้านล่างของกระดาษ(ดังรูป) ด้วยปากกาหมึกซึม


3.  ใส่น้ำลงในขวดโหลให้มีความสูงประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วค่อยๆใส่กระดาษชำระลงในขวดโหล โดยให้ปลาย
      ด้านล่างของกระดาษชำระจุ่มอยู่ในน้ำแต่ให้วงกลมที่วาดไว้อยู่เหนือน้ำ สังเกตกระดาษชำระจะค่อยๆดูดน้ำขึ้นไป
      หรือกล่าวได้ว่าน้ำจะค่อยๆเคลื่อนที่ไปบนกระดาษชำระ
4.  ทิ้งไว้ 1-2 นาที แล้วนำกระดาษออกจากโหล แล้วดูระยะทางและความเร็วที่น้ำหมึกเคลื่อนที่ไปบนกระดาษ
5.  ทดลองทำใหม่ด้วยปากกาคนละด้ามกับอันแรก สังเกตความแตกต่างระหว่างปากกาทั้งสองแท่ง
6.  ถ้าไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างปากกาทั้งสองแท่งได้ ให้ทดลองใหม่โดยคราวนี้ให้ใช้แอลกอฮอล์แทน
     น้ำและปากกาต่างชนิดกัน


สิ่งที่เกิดขึ้น

        การทดลองนี้เรียกกันว่า ?วิธีโครโมโตกราฟฟี่? (chromatography) น้ำหมึกจากปากกาแต่ละด้ามจะมีการเคลื่อนที่บนกระดาษชำระที่ต่างกันออกไป ทำให้สามารถใช้บ่งชี้ปากกาแต่ละด้ามได้

น้ำแข็งเต้นรำ



อุปกรณ์
  •  ขวดหรือแก้วทรงสูง
  •  น้ำมันพืช
  •  น้ำแข็งก้อน (อาจใส่สีผสมอาหารลงในน้ำที่ใช้ทำน้ำแข็งจะเห็นได้ง่ายขึ้น

วิธีทำ
  •  เติมน้ำมันลงในแก้ว
  •  ใส่น้ำแข็งก้อนลงในแก้ว น้ำแข็งจะลอยอยู่ในน้ำมัน
  •  สังเกตเมื่อน้ำแข็งละลาย
สิ่งที่เกิดขึ้น

       กิจกรรมนี้เป็นการอธิบายเรื่องความหนาแน่น โดยความหนาแน่นเป็นค่าที่ได้จากน้ำหนักมวลต่อปริมาณ เช่นน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตรมีน้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นความหนาแน่นเท่ากับ1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อกลายเป็นน้ำแข็งจะมีค่าความหนาแน่นน้อยกว่า
          เมื่อคุณใส่วัตถุใดๆลงในของเหลวจะมีแรง 2 ตัวกระทำต่อวัตถุนั้น ได้แก่ แรงโน้มถ่วงที่จะดึงวัตถุนั้นลง และแรงยกตัวที่จะดันวัตถุนั้นขึ้น วัตถุนั้นจะลอยหรือจมในของเหลวขึ้นอยู่กับความหนาแน่นโดย ?วัตถุที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าของเหลวจะลอยแต่ถ้าความหนาแน่นมากกว่าของเหลวจะจม? น้ำแข็งและน้ำมันพืชมีความหนาแน่นใกล้เคียงกัน (ประมาณ 920 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ดังนั้นน้ำแข็งจะลอยปริมอยู่ในน้ำมันพืชแต่เมื่อน้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำมันดังนั้นหยดน้ำจะจมลงโดยดึงน้ำแข็งลงมาด้วยในตอนแรกแต่เมื่อหยดน้ำหลุดจากน้ำแข็งแล้วจมลง ขณะที่ก้อนน้ำแข็งจะลอยกลับขึ้นไปที่ผิวหน้าอีกครั้ง

ความลับของสี



อุปกรณ์
  • สีเมจิ สีดำ , น้ำเงิน , น้ำตาล (สีเข้มๆจะให้ผลการทดลองที่น่าตื่นเต้น)
  • กระดาษกรองกาแฟ , กรองตะกอนน้ำมัน  แก้วใส่น้ำ
วิธีการทดลอง
  • ตัดกระดาษกรองเป็นแถบยาวๆ
  • ระบายสีเมจิที่ต้องการทดสอบให้เป็นแถบหนา โดยห่างจากปลายกระดาษประมาณ 1 ซม.
  • จุ่มปลายกระดาษในช่วงที่เว้นไว้ 1ซม. ลงในน้ำ *ระวังอย่าให้เส้นสีที่ขีดไว้จมน้ำ เพราะสีจะลายลงน้ำ
  • รอดู สังเกตแถบสีที่เริ่มไต่สูงขึ้นไปบนกระดาษกรอง  เธอเห็นสีอะไรซ่อนอยู่?
  • นำกระดาษไปหนีบผึ่งไว้กับที่ตากถุงเท้า แล้วทดลองสีต่อไป
เหตุผล
    สีสังเคราะห์เกิดจากการผสมของแม่สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน ในอัตราส่วนไม่เท่ากัน ทำให้เกิดสีต่างๆ มากมาย  การแยกสีด้วยกระดาษกรองนี้ เราเรียกว่า "เปอเปอร์โครมาโทกราฟี" (Paper Chromatography) ซึ่งเป็นการแยกสารที่ผสมกันในปริมาณน้อยให้แยกออกมาเป็นแถบเส้นสีหรือแถบสี อาศัยสมบัติ 2 ประการ คือ
           1. 
    สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลาย (น้ำ) ได้ต่างกัน 
           2. 
    สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับ (กระดาษกรอง)ได้ต่างกัน
         
    สารที่ละลายในตัวทำละลายได้ดีส่วนมากจะถูกดูดซับไม่ดี จึงเคลื่อนที่ไปได้ไกล ส่วนสารที่ละลายในตัวทำละลายได้ไม่ดี ส่วนมากจะถูกดูดซับได้ดีจึงอยู่ใกล้จุดเริ่มต้น




    การทดลองวิทยาศาสตร์


    วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

    เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


    สารสนเทศ


    เทคโนโลยีสารสนเทศ


    เทคโนโลยี


    ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


    วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

    Resume

    Name : Kanjana      Jaiwang
    Nickname : Fai
    Birthday : 25  December 1996
    Age : 15 years old
    Blood : A
    Education : Mattayom 4 (studying)
    Hobby : Read funny books
    Highlights : Good human relations
    Tel : -08-77883917
    E-mail : fai_december@ Hotmail.com